
- หมวด: อาหารเพื่อสุขภาพ
- 12 07
- | ฮิต: 688

ปัจจุบัน น้ำผลไม้จะเป็นเครื่องดื่มที่เด็กนิยมดื่มกันมากขึ้น ผู้ปกครอง สามารถเตรียมให้หรือซื้อหาน้ำผลไม้ที่บรรจุภาชนะชนิดต่างๆ ได้ง่าย บางครอบครัว ทารกที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน ก็อาจได้ดื่มน้ำผลไม้
ความสัมพันธ์ของน้ำผลไม้ต่อสุขภาพเด็ก
ความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างการดื่มเครื่องดื่มรสหวานต่างๆ และน้ำอัดลม กับการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักเด็ก ที่เป็นผลจากการได้รับพลังงานจากเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น ซึ่งในเครื่องดื่มเหล่านี้จะมีน้ำผลไม้รวมอยู่ด้วย และเด็กที่เดิมมีภาวะโภชนาการเกินอยู่แล้ว ถ้าหากดื่มน้ำผลไม้มากเกินไปจะพบว่าสัมพันธ์ทางบวกกับการเพิ่มไขมันร่างกายด้วย แต่ประเด็นนี้ควรมีการศึกษาเพิ่มเติม เนื่องจากน้ำผลไม้ ยังคงเป็นแหล่งที่สามารถให้วิตามินและแร่ธาตุแก่ผู้ดื่มได้
อย่างไรก็ตาม เด็กที่ดื่มน้ำผลไม้มากโดยเฉพาะน้ำผลไม้ที่มีการเติมน้ำตาลหรือสารให้ความหวานลงไป จะทำให้เด็กได้รับน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายมากเกินไปและเกิดฟันผุ ในต่างประเทศ เช่น สมาคมกุมารแพทย์ของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดแนวทางแก่ผู้ปกครองว่า
1. ไม่ควรให้น้ำผลไม้แก่ทารกโดยเฉพาะทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน และควรให้เสริมเฉพาะในอาหารมื้อหลักเท่านั้นและไม่ให้น้ำผลไม้พร่ำเพรื่อตลอดทั้งวัน หรือให้ก่อนเวลานอน เมื่อฟันซี่แรกของเด็กขึ้นแล้ว ไม่ควรให้น้ำผลไม้เกิน 240 ซีซี.ต่อวัน และหัดให้เด็กดื่มจากแก้วแทนการดูดจากขวด นอกจากนี้ ช่วงแรกเกิดถึงอายุ 2 ขวบครึ่ง ให้หลีกเลี่ยงน้ำอัดลม และให้ทำความสะอาดปากเด็กด้วย ผ้านุ่มๆ ภายหลังได้รับอาหารหรือเครื่องดื่มต่างๆ
2. จำกัดปริมาณน้ำผลไม้ไม่เกิน 1 20- 180 ซีซี. ต่อวัน ในเด็กอายุ 1-6 ปี และไม่เกิน 240-360 ซีซี. ต่อวันในเด็กอายุ 7- 18 ปี และให้เป็นน้ำผลไม้ที่เตรียมอย่างสะอาด
3. ควรส่งเสริมให้เด็กกินผัก-ผลไม้สดทุกวัน ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับปริมาณการดื่มน้ำผลไม้ในเด็ก แต่จากการที่พบว่าทั้งเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียนมีอัตราฟันผุค่อนข้างสูง ดังนั้น ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยโภชนาการและ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ได้ร่วมกันกำหนดแนวทางการกินอาหารว่างของเด็กว่า เด็กไม่ควรกินอาหารว่างเกิน 2 มื้อต่อวัน และให้ปริมาณน้ำตาลในอาหารว่าง (ซึ่งอาจเป็นน้ำตาล จากขนมหรือเครื่องดื่มต่างๆ) นั้นมีไม่เกิน 24 กรัมต่อ วัน (6 ช้อนกาแฟ) หรือ 1 2 กรัม (3 ช้อนกาแฟ) ต่อมื้อ และแนะนำให้เด็กกินผลไม้สดซึ่งจะให้ประโยชน์มากกว่า
น้ำผลไม้ที่มักจะมีการเติมน้ำตาลหรือสารให้ความหวานลงไป ซึ่งทำได้โดยให้คำแนะนำและกำหนดแนวทางปฏิบัติด้านอาหารแก่ผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็ก และให้มีมาตรการจำกัดไม่ให้มีตู้หยอดเหรียญขายเครื่องดื่มรสหวานและน้ำอัดลม ตลอดจนการจัดหาน้ำดื่มสะอาดที่เพียงพอในสถานเลี้ยงเด็กและ โรงเรียน รวมทั้งจำกัดการโฆษณาและการขายเครื่องดื่มน้ำผลไม้รสหวานต่างๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.doctor.or.th/article/detail/1230
ขอบคุณรูปภาพจาก : women.upyim.com/ลูกน้อยไม่ดื่มน้ำไม่ดื่มนม/
น้ำผลไม้,น้ำหนักเด็ก,ปริมาณการดื่มน้ำผลไม้,ผลไม้,รสหวาน,ผลไม้
Most Popular
ทำไมถึงตดเยอะ ทำอย่างไรดี!
ทุกคนล้วนเคยตด การตดเมื่ออยู่คนเดียวดูจะเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ แต่เมื่อตดต่อหน้าธารกำนัลจะกลายเป็นเรื่องที่ผิดกาลเทศะ คนส่วนใหญ่จึงมักอายที่จะตดอย่างเปิดเผย ...
ทำไมตดถึงเหม็น
หลายคนอาจเคยพบกับประสบการณ์เผชิญหน้าโดยตรงกับ "ตด" หรือที่เรียกอย่างสุภาพว่า "ผายลม" สูดลมหายใจดมกลิ่นมันเข้าไปโดยไม่ได้คิดอะไร แต่หารู้ไม่ว่าตดบอกอะไรกับเราได้หลายอย่างเลยทีเดียว ...
"ไข้ทับระดู" ภัยอันตรายสำหรับคุณผู้หญิง
เมื่อพูดถึงไข้ทับระดู แน่นอนค่ะ ดิฉันมั่นใจว่าคุณผู้หญิงทุกคนรู้จักกับมันเป็นอย่างดีค่ะ มันมักมากับเจ้าน้องไฟแดงของเรา ซึ่งไม่ธรรมดานะค่ะ หากมีอาการอื่นแทรกซ้อนละก็ เจ้าไข้นี่ ...
“ทินเนอร์” สารระเหยอันตราย
ทินเนอร์ เป็นสารเคมีที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย มักนำมาใช้ผสมในสีทาบ้าน รวมทั้งน้ำยาล้างเล็บและสารเคลือบเงา เช่น แล็กเกอร์ หรือวาร์นิช ส่วนประกอบหลักของทินเนอร์ ได้แก่ โทลูอีน (toluene) ...
ลงเล่นน้ำได้ไหม ถ้าประจำเดือนมา
เชื่อเลยนะค่ะ ว่าหญิงสาวหลายๆคนเลยที่อุตส่าห์นัดเพื่อน ๆ ไปพักผ่อนหย่อนใจที่ทะเลเสียหน่อย แต่พอเอาจริงๆแล้ว ถึงวันจะเที่ยวแล้วเนี่ย ประจำเดือนเจ้ากรรม ดันมาซะงั้นอ่ะ ถ้าไปเที่ยวแบบเที่ยว ...