
- หมวด: เคล็ดลับการดูแลสุขภาพ
- 12 07
- | ฮิต: 692

“จากข้อมูลการใช้ยาปฏิชีวนะซึ่งเป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียของประเทศไทยดังกล่าว ถือเป็นตัวเลขที่สูงมาก เพราะคนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการใช้ เช่นเมื่อรู้สึกเจ็บป่วย มีอาการเจ็บคอ ก็มักหาซื้อยากินเอง และคิดว่ายาแก้อักเสบ คือยาปฏิชีวนะที่จะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ทั้งที่บางโรคสามารถหายเองโดยไม่ต้องรักษา บางรายได้รับคำแนะนำจากเพื่อนฝูง ดูจากโฆษณาจากบริษัทยา ทำให้อัตราการใช้เพิ่มสูงอย่างที่ไม่ควรจะเป็น ในขณะเดียวกันในโรงพยาบาลหลายแห่ง ยังมีการจัดยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็นไว้ในบัญชียาด้วย ต้นเหตุเหล่านี้ทำให้เกิดการใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไป กลายเป็นอันตรายที่ทำให้เกิดการดื้อยาในเชื้อแบคทีเรียในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้น” รายงานทางการแพทย์ให้ข้อมูลไว้ดังนี้
นอกจากความเข้าใจของประชาชนโดยทั่วไปในการใช้ยาปฏิชีวนะที่ผิดแล้ว ในส่วนของบุคลกรทางการแพทย์เอง ก็มีอยู่จำนวนไม่น้อยที่มักจะสั่งยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็นให้กับผู้ป่วย โดยจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่า มีการสั่งยาปฏิชีวนะให้กับผู้ที่มารับการรักษาโรคท้องร่วงเฉียบพลันในโรงพยาบาลของรัฐในอัตราสูงที่ร้อยละ50 ในขณะที่ มีการสั่งยาชนิดนี้ในโรงพยาบาลเอกชนสูงถึงเกือบร้อยละ 80ในโรงพยาบาลเอกชน
อย.รณรงค์ รพ.ลดการใช้แต่ทำได้แต่ในร.พ.เล็กๆ
ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก (อย.) พยายามรณรงค์และสร้างความเข้าใจใหม่ให้กับประชาชน รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ ในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล ไม่มีการใช้ยาอย่างพร่ำเพื่อ โดยในการดำเนินการกับสถานพยาบาลต่าง ๆ ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา พบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยจากการสำรวจในพื้นที่นำร่องหลังการดำเนินโครงการในช่วง 4 เดือน พบว่า จำนวนคนไข้ในโรคเป้าหมาย 3 โรค คือ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด เจ็บคอ ,โรคท้องร่วงเฉียบพลัน และแผลเลือดออก ได้รับยาปฏิชีวนะลดลง
เช่น ที่ โรงพยาบาลชุมชนใน จ.อุบลราชธานี พบว่า ก่อนเริ่มโครงการ มีอัตราการจ่ายยาปฏิชีวนะในโรค URI ที่ร้อยละ 50.4 แต่หลังทำโครงการอเตราการจ่ายยาปฏิชีวนะ ลดลอยู่ที่ร้อยละ 37.5 หรือทำให้มีคนไข้เพียง 19,663 คน จาก 26,410 คน ที่ได้รับยาปฏิชีวนะ แปลว่า โรงพยาบาล จ.อุบลราชธานี ป้องกันคนไข้จำนวน 6,747คน ไม่ให้ได้รับอันตรายจากการได้รับยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น ซึ่งตัวเลขนี้เป็นเพียงตัวอย่างใน 1 โรค ใน 1 พื้นที่ ในช่วงเวลาเพียง 4 เดือน หากคำนวณโดยคิดเป็น 1 ปี โรงพยาบาลุมชน 20 แห่ง ใน จ.อุบลราชธานีจะช่วยป้องกันคนไข้โรค URI จากการได้รับยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น เป็นจำนวนถึง 20,241 คน
นอกจากนี้จากการสำรวจข้อมูลจากโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ ยังพบว่า คนไข้ในโรคเป้าหมายที่ไม่ได้รับยาปฏิชีวนะ และรักษาโรคได้หายเป็นปกติร้อยละ90 มีความพึงพอใจกับการรักษาอีกด้วย
ขอบคุณที่มาและภาพจาก โดย ชุลีพร บุตรโคตร ศูนย์ข่าว TCIJ http://www.tcijthai.com/tcijthai/view.php?ids=2372
ยาปฏิชีวนะ, การใช้ยาปฏิชีวนะ, การใช้ยา, ยาอันตราย, การใช้ยาเกินจำเป็น
Most Popular
ทำไมถึงตดเยอะ ทำอย่างไรดี!
ทุกคนล้วนเคยตด การตดเมื่ออยู่คนเดียวดูจะเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ แต่เมื่อตดต่อหน้าธารกำนัลจะกลายเป็นเรื่องที่ผิดกาลเทศะ คนส่วนใหญ่จึงมักอายที่จะตดอย่างเปิดเผย ...
ทำไมตดถึงเหม็น
หลายคนอาจเคยพบกับประสบการณ์เผชิญหน้าโดยตรงกับ "ตด" หรือที่เรียกอย่างสุภาพว่า "ผายลม" สูดลมหายใจดมกลิ่นมันเข้าไปโดยไม่ได้คิดอะไร แต่หารู้ไม่ว่าตดบอกอะไรกับเราได้หลายอย่างเลยทีเดียว ...
"ไข้ทับระดู" ภัยอันตรายสำหรับคุณผู้หญิง
เมื่อพูดถึงไข้ทับระดู แน่นอนค่ะ ดิฉันมั่นใจว่าคุณผู้หญิงทุกคนรู้จักกับมันเป็นอย่างดีค่ะ มันมักมากับเจ้าน้องไฟแดงของเรา ซึ่งไม่ธรรมดานะค่ะ หากมีอาการอื่นแทรกซ้อนละก็ เจ้าไข้นี่ ...
“ทินเนอร์” สารระเหยอันตราย
ทินเนอร์ เป็นสารเคมีที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย มักนำมาใช้ผสมในสีทาบ้าน รวมทั้งน้ำยาล้างเล็บและสารเคลือบเงา เช่น แล็กเกอร์ หรือวาร์นิช ส่วนประกอบหลักของทินเนอร์ ได้แก่ โทลูอีน (toluene) ...
ลงเล่นน้ำได้ไหม ถ้าประจำเดือนมา
เชื่อเลยนะค่ะ ว่าหญิงสาวหลายๆคนเลยที่อุตส่าห์นัดเพื่อน ๆ ไปพักผ่อนหย่อนใจที่ทะเลเสียหน่อย แต่พอเอาจริงๆแล้ว ถึงวันจะเที่ยวแล้วเนี่ย ประจำเดือนเจ้ากรรม ดันมาซะงั้นอ่ะ ถ้าไปเที่ยวแบบเที่ยว ...