
- หมวด: สุขภาพประจำวัน
- 12 07
- | ฮิต: 671


- อาการเมาเรือ
อาการเมาเรือนั้น คืออาการที่เรารู้สึกมึนในขณะที่นั่งเรือ แน่นอนค่ะว่ามันไม่สนุกแน่ๆหากเกิดกับเรา การเมาเรือนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดความขัดแย้ง ระหว่างประสาทสัมผัสในร่างกายกับระบบการทรงตัว นั่นก็คือหูชั้นใน ตา และส่วนอื่น ๆ ที่ร่างกายใช้รับรู้การเคลื่อนไหว ส่งสัญญาณขัดแย้งไปยังสมอง เช่น หูชั้นในพบว่าร่างกายกำลังเคลื่อนไหว ในขณะที่ส่วนอื่นนึกว่าปกติ อย่างเช่น หากคุณอยู่บนเรือ หูชั้นในก็จะพบว่ามีคลื่นแรง แต่ดวงตากลับมองไม่เห็นความเคลื่อนไหว จึงทำให้เกิดเป็นอาการเมาเรือได้
การป้องกัน คือ หากคุณจำเป็นที่ต้องนั่งเรือจริงๆ คุณควรที่จะเลือกนั่งหรือนอนในบริเวณที่เรือโคลงน้อยที่สุดก่อนก็ได้ โดยยาแก้เมาเรือที่หาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไปสามารถป้องกันไม่ให้คลื่นเหียนอาเจียนได้ เพียงแต่คุณควรจะกินก่อนลงเรือ ซึ่งบางชนิดอาจกล่อมประสาทและทำให้ง่วง
- หอยเม่นเจ้ากรรม มาตำทำไมเนี่ย
ต้องระวังนะค่ะ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบในการดำน้ำตื้นที่ทะเล เพราะอย่างที่เรารู้กันละค่ะ ว่าถ้าไม่ทำอะไรหอยเม่น มันก็จะไม่ทำอะไรเรา แต่การถูกหอยแม่นตำก็ยังเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยอยู่ดี
ข้อควรปฏิบัติเมื่อถูกหอยเม่นตำ
- ใช้แหนบถอนหนามเม่นออกมาเสียก่อน
- ให้เราทำการแช่บริเวณที่ถูกตำในน้ำร้อนที่สุดเท่าที่ผู้ป่วยจะทนได้ โดยแช่นานประมาณ 30-90 นาที หรือแช่ซ้ำเพื่อบรรเทาปวด
- คุณไม่ควรรีบทุบหนามให้แตกเพราะว่าหากคุณเป็นรอยช้ำม่วงอาจจะไม่ใช่หนามที่หลงเหลืออยู่ แต่เป็นสีตกจากหอยเม่นบางชนิดซึ่งจะคงอยู่ประมาณ 24-48 ชั่วโมง แต่ถ้าเลยไปแล้ว ยังมีสีดำ ก็เป็นไปได้ว่ายังมีหนามตำอยู่
- แผลที่เกิดจากการที่มีแผลหอยเม่นมีโอกาสจะอักเสบได้อยู่แล้ว การสังเกตนะค่ะ คือเราจะสังเกตได้จากอาการบวมแดง หรือเป็นตุ่มน้ำขึ้นมา หรือคุณอาจจะมีไข้ ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ควรไปพบแพทย์ เพราะอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
อีกทั้งคุณควรที่จะระวังสัตว์ที่มาจากทะเลชนิดอื่นด้วยนะค่ะ เช่น แมงกะพรุน หรือปะการัง
ภาวะลมแดด กับทะเล (ฮีทสโตรก)
ต้องบอกว่า ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็ตามแต่ ภาวะลมแดดสามารถที่จะเกิดกับคุณได้เสมอ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เราจึงต้องไปทำความรู้จักกับ นพ.นรินทร สุรสินธน แพทย์ด้านเวชปฏิบัติทั่วไป รพ.สมิติเวช สุขุมวิท
อาการลมแดด คืออะไร
อาการนี้เกิดจากการที่ร่างกายของเรานั้นไม่สามารถที่จะควบคุมความร้อนที่เพิ่มขึ้นในทันทีทันใดได้ โดยปกติศูนย์ควบคุมอุณหภูมิกายจะทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายให้อยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส ศูนย์นี้มีความไวต่ออุณหภูมิเลือดที่ไหลผ่าน หากอุณหภูมิในเลือดสูงขึ้นศูนย์จะส่งสัญญาณไปตามเส้นใยประสาททั่วร่างกาย ซึ่งจะทำให้มีการขยายหลอดเลือดบริเวณผิวหนัง เพื่อให้ความร้อนกระจายออกจากร่างกาย และลดกระบวนการเมตาบอลิซึ่มภายในร่างกาย เพื่อมิให้มีการผลิตความร้อนมากเกินควร
ทำอย่างไรดี หากคุณเป็นลมแดด
แน่นอนค่ะ ว่าเมื่อคุณอยู่ในท่ามกลางแสงแดดนานเกินไป อาการลมแดดมีสิทธิ์เกิดขึ้นค่ะ โดยให้คุณสังเกตว่าตนเองว่ามีอาการเริ่มต้นของลมแดดรึเปล่า โดยจะมีอาการกระหายน้ำมาก ปากคอแห้ง ตัวร้อนจัด หายใจสั้นและถี่ เวียนศีรษะ ตาพร่า การเคลื่อนไหวและสติสัมปชัญญะควบคุมไม่ได้ ถ้าเป็นเช่นนี้ให้เข้าไปพักในที่ร่มใกล้ ๆ คลายเสื้อผ้าออก หรือถอดออกเท่าที่ทำได้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตามตัว ดื่มน้ำได้ โดยต้องจิบช้า ๆ เป็นระยะ ๆ จนความกระหายหมดไป
ดังนั้น ก็อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองด้วยนะค่ะ เพื่อให้การเที่ยวในวันหยุดยาวของคุณมีความสุขค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: health.kapook.com/view40493.html
ขอขอบคุณรูปภาพจาก: kohsurin.com/mcontents/1035307711kohsurincom3.gif
Most Popular
ทำไมถึงตดเยอะ ทำอย่างไรดี!
ทุกคนล้วนเคยตด การตดเมื่ออยู่คนเดียวดูจะเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ แต่เมื่อตดต่อหน้าธารกำนัลจะกลายเป็นเรื่องที่ผิดกาลเทศะ คนส่วนใหญ่จึงมักอายที่จะตดอย่างเปิดเผย ...
ทำไมตดถึงเหม็น
หลายคนอาจเคยพบกับประสบการณ์เผชิญหน้าโดยตรงกับ "ตด" หรือที่เรียกอย่างสุภาพว่า "ผายลม" สูดลมหายใจดมกลิ่นมันเข้าไปโดยไม่ได้คิดอะไร แต่หารู้ไม่ว่าตดบอกอะไรกับเราได้หลายอย่างเลยทีเดียว ...
"ไข้ทับระดู" ภัยอันตรายสำหรับคุณผู้หญิง
เมื่อพูดถึงไข้ทับระดู แน่นอนค่ะ ดิฉันมั่นใจว่าคุณผู้หญิงทุกคนรู้จักกับมันเป็นอย่างดีค่ะ มันมักมากับเจ้าน้องไฟแดงของเรา ซึ่งไม่ธรรมดานะค่ะ หากมีอาการอื่นแทรกซ้อนละก็ เจ้าไข้นี่ ...
“ทินเนอร์” สารระเหยอันตราย
ทินเนอร์ เป็นสารเคมีที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย มักนำมาใช้ผสมในสีทาบ้าน รวมทั้งน้ำยาล้างเล็บและสารเคลือบเงา เช่น แล็กเกอร์ หรือวาร์นิช ส่วนประกอบหลักของทินเนอร์ ได้แก่ โทลูอีน (toluene) ...
ลงเล่นน้ำได้ไหม ถ้าประจำเดือนมา
เชื่อเลยนะค่ะ ว่าหญิงสาวหลายๆคนเลยที่อุตส่าห์นัดเพื่อน ๆ ไปพักผ่อนหย่อนใจที่ทะเลเสียหน่อย แต่พอเอาจริงๆแล้ว ถึงวันจะเที่ยวแล้วเนี่ย ประจำเดือนเจ้ากรรม ดันมาซะงั้นอ่ะ ถ้าไปเที่ยวแบบเที่ยว ...