
- หมวด: บทความสุขภาพ
- 12 07
- | ฮิต: 673

มีคนจำนวนไม่น้อยที่จะต้องเสียชีวิตจากความผิดพลาดทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นในประเทศ หรือต่างประเทศ เรามักจะได้ยินข่าวในลักษณะเช่นนี้อยู่บ่อย ๆ ทั้งนี้ความผิดพลาดทางการแพทย์เป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ และอาจจะเกิดขึ้นในการรักษาทุกขึ้นตอน ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัย การเข้ารับผ่าตัด หรือแม้กระทั่งการให้ยา และจากปัญหาดังกล่าว ผู้บริโภคแต่ละคน จึงจำเป็นที่จะต้องรู้วิธีป้องกันและรับมือกับปัญหา ความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้หลังเข้ารับการรักษาต่าง ๆ
ดังนั้นจึงมีบทความดี ๆ ของ ผศ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้แนะนำ 20 เคล็ดลับสำหรับผู้บริโภค หรือคนไข้ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตน ให้เกิดความปลอดภัยในการรับบริการมาฝากกัน จะมีวิธีใดบ้างไปดูกันเลย
หลักการที่สำคัญ
เคล็ดลับที่ 1 พึงระลึกอยู่เสมอว่า "เราจะต้องเป็นส่วนหนึ่งในทีมที่ให้การรักษา" นั่นหมายถึง เราต้องมีส่วนร่วมในทุก ๆ การตัดสินใจในกระบวนการดูแลรักษา งานวิจัยยืนยันว่าผู้ป่วยที่มีส่วนร่วมในกระบวนการรักษามีแนวโน้มจะได้ผลการรักษาที่ดีกว่า
หลักปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ยา
เคล็ดลับที่ 2 ต้องแน่ใจว่าแพทย์ที่ทำการรักษานั้นทราบว่า เรามีประวัติการรับยาที่ใดบ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาจากโรงพยาบาลเดียวกัน หรือยาที่ซื้อมารับประทานเอง ทั้งวิตามิน ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ สมุนไพรต่าง ๆ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทุกชนิด เพราะจากผลการวิจัยนั้น พบว่า ในการรักษามักจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้น โดยเฉพาะอันตรายจากปฏิกิริยาต่อวันระหว่างยา ที่แพทย์สั่งให้มาใหม่ กับยาที่ท่านรับประทานอยู่ หรือกับผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ๆ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการรักษาได้ ดังนั้น ในการพบแพทย์หรือต้องนอนโรงพยาบาลให้นำยาหรือผลิตภัณฑ์ที่ท่านใช้ประจำมา เป็นข้อมูลเพื่อให้แพทย์ได้ทราบก่อนที่แพทย์จะตัดสินใจสั่งการรักษา
เคล็ดลับที่ 3 ให้แจ้งประวัติการแพ้ยา หรือมีอาการข้างเคียงที่ส่งผลให้เกิดอันตรายจากยาชนิดใดบ้าง ทุกครั้งก่อนรับยา เพื่อแพทย์จะได้หลีกเลี่ยงยาประเภทดังกล่าว
เคล็ดลับที่ 4 ในกรณีที่แพทย์ตัดสินใจว่าจะให้ยาแล้ว ต้องพยายามทำความเข้าใจกับใบสั่งยาที่ได้รับ โดยเฉพาะลายมือที่แพทย์เขียน เพราะลายมือที่ไม่ชัดเจนทำให้เภสัชกรจ่ายยาผิดพลาด และเป็นที่มาของความเสียหายที่เกิดขึ้นกับคนไข้
เคล็ดลับที่ 5 สอบถามรายละเอียดต่างๆ และทำความเข้าใจในการใช้ยาจากแพทย์ให้ชัดเจน ได้แก่
+ ยาที่ได้รับนั้นจะใช้เพื่อวัตถุประสงค์อะไรบ้าง
+ ยาที่ได้รับจะต้องใช้อย่างไร และใช้ยานานแค่ไหน จะหยุดยาได้เมื่อไร
+ ถ้าใช้ยาแล้วโอกาสจะเกิดอาการข้างเคียงอะไรบ้าง และหากเกิดขึ้นจริงจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
+ ยาที่ได้รับนี้หากจะต้องรับประทานร่วมกับยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นที่ท่านรับประทานอยู่จะปลอดภัยหรือไม่
+ ข้อแนะนำสำหรับการปฏิบัติตัวอื่น ๆ เช่น การรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มหรือมีกิจกรรมต่าง ๆ ประการใดบ้างที่ควรหลีกเลี่ยงในขณะที่รับประทานยานี้ เช่น ยาบางชนิดจะมีอันตรายหากรับประทานร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
เคล็ดลับที่ 6 เมื่อไปรับยาตามใบสั่ง จะต้องตรวจให้แน่ใจว่า ยาที่ได้นั้นตรงตามใบสั่งยาที่แพทย์ให้มาจริง เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การได้รับยาผิดชนิด ไม่ถูกต้องตามที่สั่ง หรือได้รับยาในขนาดที่ผิดไปจากที่สั่ง เป็นต้น
เคล็ดลับที่ 7 หากได้รับยามาแล้ว เมื่อมีข้อสงสัยถึงวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากต้องรีบถามก่อนกลับบ้าน เพราะหากเข้าใจผิดพลาดจะนำไปสู่การรับประทานยาหรือใช้ยาที่ผิดพลาด เช่น ฉลากระบุว่ารับประทานวันละครั้ง หลังอาหารหรือก่อนนอน มีคนไข้รับประทานยานี้วันละ 4 ครั้ง ทั้งหลังอาหารทุกมื้อและก่อนนอน
เคล็ดลับที่ 8 ควรจะให้เภสัชกรแจ้งให้ทราบถึงอันตราย หรืออาการข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นจากยา และวิธีปฏิบัติหากเกิดขึ้นจริงโดยเฉพาะที่อยู่ที่สามารถติดต่อกลับเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม หากเป็นไปได้ควรแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร
เคล็ดลับที่ 9 ต้องแน่ใจว่า สามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้องและเก็บรักษายาอย่างถูกต้อง เช่น หากจำเป็นต้องรับประทานยาน้ำ ต้องถามเภสัชกรให้แน่ใจว่าจะใช้อุปกรณ์ในการตวงยาอย่างไรจะเหมาะสม เช่น หนึ่งช้อนชา ไม่เท่ากับขนาดหนึ่งช้อนกาแฟ หากไม่มีช้อนชาสำหรับตวงยาให้ขอจากห้องยาหรือร้านยาได้ หรือหากได้รับเป็นหลอดฉีดยาสำหรับตวงยาต้องแน่ใจว่า ใช้ได้อย่างถูกต้อง หรือหากต้องใช้ยาพ่นต้องแต่ใจว่าพ่นถูกอวัยวะ เช่น พ่นเข้าจมูกหรือพ่นเข้าปาก การเก็บยาหลังจากเปิดขวดใช้แล้ว วิธีการใดที่เหมาะสม เช่น เก็บในตู้เย็น หรือต้องทิ้งภายหลังใช้เป็นเวลา 1 เดือน ในกรณียาหยอดตา
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : health.kapook.com/view30668.html
วิธีเตรียมพร้อมรับมือบริการทางการแพทย์,บริการทางการแพทย์,การใช้ยา,ความผิดพลาดทางการแพทย์,การรักษา,ประวัติแพ้ยา,อาการข้างเคียง
Most Popular
ทำไมถึงตดเยอะ ทำอย่างไรดี!
ทุกคนล้วนเคยตด การตดเมื่ออยู่คนเดียวดูจะเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ แต่เมื่อตดต่อหน้าธารกำนัลจะกลายเป็นเรื่องที่ผิดกาลเทศะ คนส่วนใหญ่จึงมักอายที่จะตดอย่างเปิดเผย ...
ทำไมตดถึงเหม็น
หลายคนอาจเคยพบกับประสบการณ์เผชิญหน้าโดยตรงกับ "ตด" หรือที่เรียกอย่างสุภาพว่า "ผายลม" สูดลมหายใจดมกลิ่นมันเข้าไปโดยไม่ได้คิดอะไร แต่หารู้ไม่ว่าตดบอกอะไรกับเราได้หลายอย่างเลยทีเดียว ...
"ไข้ทับระดู" ภัยอันตรายสำหรับคุณผู้หญิง
เมื่อพูดถึงไข้ทับระดู แน่นอนค่ะ ดิฉันมั่นใจว่าคุณผู้หญิงทุกคนรู้จักกับมันเป็นอย่างดีค่ะ มันมักมากับเจ้าน้องไฟแดงของเรา ซึ่งไม่ธรรมดานะค่ะ หากมีอาการอื่นแทรกซ้อนละก็ เจ้าไข้นี่ ...
“ทินเนอร์” สารระเหยอันตราย
ทินเนอร์ เป็นสารเคมีที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย มักนำมาใช้ผสมในสีทาบ้าน รวมทั้งน้ำยาล้างเล็บและสารเคลือบเงา เช่น แล็กเกอร์ หรือวาร์นิช ส่วนประกอบหลักของทินเนอร์ ได้แก่ โทลูอีน (toluene) ...
ลงเล่นน้ำได้ไหม ถ้าประจำเดือนมา
เชื่อเลยนะค่ะ ว่าหญิงสาวหลายๆคนเลยที่อุตส่าห์นัดเพื่อน ๆ ไปพักผ่อนหย่อนใจที่ทะเลเสียหน่อย แต่พอเอาจริงๆแล้ว ถึงวันจะเที่ยวแล้วเนี่ย ประจำเดือนเจ้ากรรม ดันมาซะงั้นอ่ะ ถ้าไปเที่ยวแบบเที่ยว ...